วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที 15



Recent Posts

Science Experiences Management For Early Childhood

28   November 2014

Time 13.00 pm. to 16.00  pm.



     #knowledge.


            เนื้อหา (The content) วันนี้อาจารย์ให้ออกแบบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน
หน่วยการเรียนรู้ เรื่องกล้วย
ผลงานแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน  แต่ละกลุ่มก็แตกต่างกันไป


หน่วย กบ ของโรงเรียน แสงปัญญา
  



หน่วยกะหล่ำปลี ของโรงเรียนอนุบาลเป็ดน้อย 



หน่วยผีเสื้อ ของโรงเรียน อนุบาลวากฝัน


หน่วยมะลิ



หน่วยส้ม ของโรงเรียนอนุบาลบ้านหญ้าคา


หน่วยแปรงสีฟัน ของโรงเรียนอนุบาลจันทร์เจ้า



หน่วยไก่ ของโรงเรียนอนุบาล เพชรปัญญา



***ต่อมาอาจารย์ก็ได้สรุปเนื้อหาและสอนเรื่องการใช้คำถามในรูปแบบต่าง ๆ
            
             คำถามให้สังเกต
1.ลักษณธของกบเป็นอย่างไร
2.ถ้าเราไม่รดน้ำดอกมะลำดอกมะลิจะเป็นอย่างไร
3.พื้นผิวของกะหล่ำปลีเป็นอย่างไร
            คำถามทบทวนความจำ
1.ไก่ที่เด็กๆรู้จักมีสีอะไรบ้าง
2.กล้วยที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง
3.ในเนื้อเพลงที่ร้องมีส้มกี่ชนิด
            คำถามบอกความหมาย
1.บอกแนวคิด
2.บอกคำจำกัดความ
3.บอกนิยาม
            คำถามอธิบาย
1.ทำไมกะหล่ำปลีถึงมีผิวขรุขระ
2.ทำไมดอกมะลิถึงมีกลิ่นหอม
3.ทำไมแปรงสีฟันถึงมีขน
            คำถามเปรียบเทียบ
1.กบ กับ ไก่ สัตว์ชนิดไหนตัวใหญ่กว่ากัน
2.กะหล่ำปลีสีม่วง กับกะหล่ำปลีสีเขียวกะหล่ำปลีชนิดไหนมีรสหวานที่สุด
3.ดอกมะลิลากับดอกมะลิซ้อนดอกมะลิชนิดไหนมีขนาดเล็กที่สุด
            คำถามให้ยกตัวอย่าง
1.ไก่อาศัยอยู่ที่ไหน
2.ส้มที่เด็กๆชอบรับประทานที่สุดมีสีอะไร
3.กล้วยที่เด็กๆชอบรับมีกล้วยอะไรบ้าง


                                                                                                                      
Evaluation

Self  ตั้งใจทำกิจกรรมในวันนี้ได้ย่างดี สนุกในการเรียนวันนี้โดยช่วยระดมความคิดกับเพื่อน ๆในกลุ่มที่จะคิดแผ่นพับประสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเชิญผู้ปกครองในอนาคตได้

Friends : ร่วมกันเสนอความคิดต่างๆ ร่วมกันเป็นอย่างดี



Teachers : อาจารย์ได้มีเทคนิคการสอนในเรื่องการใช้คำถามซึ่งช่วยให้เราใช้ในการเสาะแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นกลวิธีในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  เพื่อพัฒนาความคิดและการตีความหมายได้เป็นอย่างดี







บันทึกครั้งที่ 14



Recent Posts

Science Experiences Management For Early Childhood

21   November 2014

Time 13.00 pm. to 16.00  pm.



     #knowledge.

สื่อต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ทำ และแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ลม


เสียง



แรงโน้มถ่วง



แรงน้ำ





****เพื่อนนำเสนองานวิจัย และโทรทัศน์ครู
            งานงิจัย
            เรื่องที่ 1  ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุลาปีที่2
ความมุ่งหมายของวิจัย
            1.เพื่อเปรียบเทียบการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณเน้นวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย
            2.เพื่อเปรียบเทียบการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ก่อนและหลังการทำกิจกรรม
            3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ฏปฐมวัย


            เรื่องที่ 2 การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสร์ ชั้นอนุบาล2
ความมุ่งหมายของวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังเรียน
2.เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้ชั้นอนุบาล 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

            เรื่องที่3  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ความมุ่งหมายของวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังในการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อสังเกตความสามรถของเด็ฏปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
           
            เรื่องที่ 4  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการทำงานก่อนและหลังการเรียนทดลองวิทยาศาสตร์
3.เพื่อสังเกตการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่จัดให้

            เรื่องที่ 5 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ความมุ่งหมายของวิจัย
1.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็ฏปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลัง การฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อเปรีบยเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็ฏปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมก่อนการฟังนิทานและหลังการฟังนิทาน





             เรื่องที่1 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
             การสอนโดยเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจาการ สังแนก การเปรียบเทียบ โดยกระบวนการเรียนรู้นั้นเด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถจำได้ในระยะยาว และทำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
           
            เรื่องที่ 2 จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
เป็นการเรียนวิทยาศาสตร์ สมัยใหม่ ที่ทันต่อโลก และเทคโนโลยียุคใหม่ เพราะทำให้การเรียน ไม่น่าเบื่อ สนุกสนาและมีความสนุก พร้อมทั้งได้เรียนรู้และสร้างผลงานใหม่ได้ด้วยตนเอง





 
กิจกรรม COOKING ทำ "WAFFLES"

อาจารย์แนะนำอุปกรณ์และวิธืการทำ



อาจารย์ให้นักศึกษาผสมแป้งด้วยตนเอง



หน้าตาแป้งที่ผสมเครื่องปรุงเสร็จแล้ว



หน้าตา Waffles น่าทานมาก




                                                                                                                      
Evaluation

Self ในการเรียนครั้งนี้รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะมีการทำ Cooking อีกแล้ว นั้นก็คือ การทำ Waffles ซึ้งเป็นการทำครั้งแรกของดิฉัน รู้จักวิ๊การทำจากอาจารย์เป็นครั้งแรกด้วย  และจะนำเอาวิธีการทำ Waffles ครั้งนี้ไปประยุกต์ในการสอนเด็กและทำทานเองในอนาคตได้

Friends : เพื่อนๆ มีความหร้อมในการเรียนครั้งนี้มาก เพราะส่วนมากเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ก็จะมีแต่นำเสนอวิจัย กับ โทรทัศน์ครู และเพื่อนร่วมมือกันทำ waffles เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีเพื่อนบางกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการนำเสนอจึงต้องเอาไปนำเสนอต่อในการเรียนครั้งต่อไป



Teachers : อาจารย์มีความพร้อมในการสอนครั้งนี้  อาจารย์ได้นำอุปกรณ์ในการทำ waffles มาให้นักศึกษาและอาจารย์มีเทคนิคในการสอนทำ waffle เทคนิคในการผสมแป้ง โดยไม่ควรเหลวเกินไป เพราะเวลาใส่เครื่องปิ้งอาจจะทำให้เเป้งนั้นไหลเลอะเทอะได้  หลังจากเสร็จกรรมอาจารย์ก็ให้นักศึกษารับผิดชอบอุปกรณ์ของตัวเอง โดยการเก็บให้เรียบร้อย และทำความสะอาด









บันทึกครั้งที่ 13



Recent Posts

Science Experiences Management For Early Childhood

14   November 2014

Time 13.00 pm. to 16.00  pm.



     #knowledge.

กิจกรรมในวันนี้
*** อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี

กลุ่ม 7  แปรงสีฟัน





ชนิดของแปรงสีฟัน 
ขั้นนำ  ร้องเพลงสวัสดี
            เพลงสวัสดี
สวัสดีคุณครูที่รัก                     หนูจะตั้งใจอ่านเขียน 
ยามเช้าเรามาโรงเรียน(ซ้ำ)     หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
           ท่องคำคล้องจอง
แปรงสีฟันมีหลายชนิด    แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น         รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี        สะอาดดีเพราะเราแปรงฟัน
ขั้นสอน
- ใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับคล้องจองว่ารู้อะไรบ้าง และนอกเหนือจากคำคล้องจองที่ได้ท่องมาเด็กๆ รู้จักแปรงสีฟันชนิดไหนอีกบ้าง??
-  ครูบันทึกคำตอบของเด็กเป็น Mind Mapping
ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันทบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาที่เรียนมา

กลุ่ม 8  ผีเสื้อ






ลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นนำ  ครูกระตุ้นให้เด็กเรียบร้อยโดยร้องเพลงสวัสดีแบบไทย
ขั้นสอน
1.ดูรูป
2.ถามเด็กๆว่าผีเสื้อชื่ออะไร
3.สังเกตลักษณะะสี  ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ
4.บันทึกลงในตาราง  ตามรูป







5.หาความสัมพันธ์ เหมือน ต่าง ตามรูป





6.ทบทวน เรื่องลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง และทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา 

กลุ่ม 9  กล้วย






ชนิดของกล้วย
ขั้นนำ  ครูร้องเพลงกล้วยเพื่อเชื่อมโยงเข้าเนื้อหา
                   เพลงกล้วย
         กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย  ค้างคาวม้าลิงฉันด้วย กินกล้วยเป็นวิตมิน
ลันลันลา ลันลันลันลันลันล้า (ซ้ำ ๆๆๆ)
        กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่  ขาดไม่ได้คือ กล้วยน้ำว้า  ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า  
 ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย
ขั้นสอน 
1. ครูถามเด็กว่าในเพลงมีกล้วยชนิดใดบ้าง
2. ครูถามเด็กว่านอกจากกล้วยในเพลงแล้วเด็กยังรู้จักกล้วยชนิดใด อีกบ้าง
3. ครูนำภาพกล้วยมาและให้เด็ก ๆ นับชนิดของกล้วย
แล้วให้เด็กเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิกกำกับ
4. ครูให้เด็กจับคู่ภาพกล้วย 1 ต่อ 1 ว่ามีกล้วยชนิดไหนมากที่สุด เช่น
ขั้นสรุป
1. ครูทบทวนเพลงกล้วย แล้วอ่านชื่อกล้วยแต่ละชนิดร่วมกันกับเด็ก





***กิจกรรมต่อไปคือการทำอาหาร Cooking การทำคาโกะยากิไข่ข้าว  ตามรูปเลยค่ะ




อาจารย์แนะนำนำอุปกรณ์





อาจารย์บอกวิธีการทำ Cooking




เพื่อนๆสนใจในการทำอาหารมาก




Evaluation

Self : มีความสนุกสนานๆ มาก ๆในการเรียนครั้งนี้ เพราะชอบการปฏิบัติ การเรียนแบบลงมือกระทำ คือการทำ Cooking ร่วมกันทำกับเพื่อนๆ ได้เป็นอย่างดี  และจะนำเอาวิธีการทำคาโกยากินี้ไปสอนเด็ก ๆได้ในอนาคต หรือไม่ก็ทำให้ครอบครัวทานได้ ค่ะ

Friends : เพื่อนบางคนก็เข้าเรียนสายบ้าง แต่เมื่อถึงเวลาร่วมกันทำกิจกรรม Cooking ก็สนใจเป็นอย่างดี

Teachers : วันนี้อาจารย์จัดให้มีการเรียนการสอนแบบ ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำกันเอง จึงทำให้นักศึกษานั้นสนใจในการเรียนวันนี้ ทำให้เกิดการเรียนอย่างเป็นประสิทธิภาพ